บันทึก 70 แกรม : โครงสร้างเรื่อง – จังหวะเรื่อง
นักเขียน / บันทึก 70 แกรม / ภาพยนตร์ / เมเปิ้ลสีขาว / Uncategorized

บันทึก 70 แกรม : โครงสร้างเรื่อง – จังหวะเรื่อง

  บทความก่อนพูดถึงเรื่องการเขียนโรแมนติก คอมาดี้ 8 Step แล้วยกตัวอย่างว่าเราควรปล่อยแบ่งเรื่องในแต่ละช่วงให้อยู่ตรงไหน เรื่องถึงจะสนุก จริงๆ แล้วนั่นก็ค่อนข้างมาจากประสบการณ์ค่ะ ถ้าพูดตามประสาชาวบ้านก็คือใช้ความรู้สึกที่เกิดจากการทำซ้ำ ๆ ย้ำๆ หลายครั้งจนชำนาญนั่นเป็นตัวกำหนดค่ะ เราเชื่อว่าถ้าคนเขียนนิยายมานานพอสมควรนั้นจะรู้สึกได้เองในเวลาเขียนโดย ธรรมชาติว่าถึงจุดที่ควรจะใส่อะไร แบบไหน คำถามคือแล้วมือใหม่ที่ยังไม่ชิน หรือยังไม่กล้าแกร่งพอที่จะมีความรู้สึกโดยธรรมชาติล่ะ จะหาอะไรมาเป็นตัวกำหนดจังหวะเรื่องดี อัน นี้ถ้าไปเสิร์ชบทความฝรั่งก็มีที่พูดไว้มากมายหลากหลายอย่าง แต่ที่จะนำมาพูดนี่ก็คือหลักการ 3 องค์ เพราะง่ายที่สุด  ซึ่งจริงๆ ถือว่าเป็นการทำ”โครงสร้างเรื่อง” นั่นแหละค่ะ ว่าอะไรควรจะอยู่จุดไหน หลัก 3 องค์นี้นิยมใช้กันมากในการเขียนบทหนังซึ่งเราคิดว่าจริงๆ นำมาปรับใช้สำหรับการเขียนนิยายได้ดีพอสมควร ในกรณีคนที่เพิ่งหัดเขียนเริ่มต้นและเรื่องไม่ยาวนัก การใช้หลัก 3 องค์นี้ เป็นหลักยึดในการเขียนก็น่าจะช่วยให้ง่ายขึ้น หลัก 3 องค์ที่ถือว่าเป็นโครงสร้างเรื่องมีอะไรบ้าง องก์ที่ 1  การเปิดเรื่อง สร้างโลก ปูพื้นเพทุกอย่าง และใส่ปมปัญหา องก์ที่ 2 การดำเนินเรื่อง การเผชิญหน้า และทางออก ของปมปัญหา องก์ที่ 3 … Continue reading

บันทึกเรื่อยเปื่อย : Character-based กับ Plot-based (1)
ชีวิตการงาน / นักเขียน / นิยาย / บันทึกเรื่อยเปื่อย / พัณณิดา ภูมิวัฒน์ / พิมพ์ดีด / ภาพยนตร์ / ลวิตร์ / สอนเขียน / หนังสือ

บันทึกเรื่อยเปื่อย : Character-based กับ Plot-based (1)

  โดยทั่วๆ ไปแล้ว เรามองว่าคนเขียนหนังสือมีสองแบบค่ะ ฝรั่งเขาเรียก Character-based พวกเน้นคาแรคเตอร์ (ตัวละคร) กับ Plot-based พวกเน้นพล็อต (เรื่องราว) คุณ GRRM คนเขียนเรื่อง Game of Thrones แกเรียกว่า พวกคนสวน กับ พวกวิศวกร ส่วนเราเองบางทีก็เรียกว่า พวกจม กับ พวกลอย ทำไมเรียกแบบนี้น่ะเหรอ คือตามความเห็นของเรา คนเราจะมีนิสัยการทำงานต่างๆ กันไปค่ะ นิสัยการทำงานนี้ นอกจากเกิดขึ้นเพราะฝึกมาแบบนั้นแล้ว ยังเกิดเพราะนิสัยของเจ้าตัว สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู ฯลฯ ด้วย บางทีก็เป็นเรื่องที่อธิบายยาก เหมือนว่าทำไมคนเลือดกรุ๊ปเอถึงเป็นอย่างนั้น คนเลือดกรุ๊ปบีถึงเป็นแบบนี้ แต่บางทีพอทายออกมาแล้ว มันก็ดันแอบตรงน่ะค่ะ ดังนั้นแม้ว่าจะทำอาชีพเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำแบบเดียวกัน นักเขียนก็เหมือนกัน ถึงจะบอกว่า “เป็นนักเขียนละ” ก็ไม่ได้ทำงานแบบเดียวกันหมด หรือมีคาแรคเตอร์คล้ายๆ กันหมดหรอกค่ะ ไม่อย่างนั้นเรื่องราวและสไตล์ของหนังสือจะมีหลายแบบต่างๆ กันไปได้อย่างไร ต่อมาพอมีคนเขียนหนังสือออกมาเยอะๆ แล้วมีคนอ่านเยอะๆ ก็เลยมีการวิเคราะห์กันว่า … Continue reading