บันทึกเรื่อยเปื่อย: free talk
บันทึกเรื่อยเปื่อย / พัณณิดา ภูมิวัฒน์ / พิมพ์ดีด / ลวิตร์

บันทึกเรื่อยเปื่อย: free talk

ช่วงนี้คนชอบพูดกันว่าวงการสิ่งพิมพ์ไม่ค่อยดี ซึ่งมันก็ไม่ค่อยดีจริงๆ น่ะค่ะ นอกจากเรื่องคนไม่ค่อยมีกำลังซื้อและเรื่องอีบุ๊คแล้ว ยังมีเรื่องที่ “เวลา” ของคนถูกแย่งไป ด้วยสิ่งอื่นๆ อย่างเกม ซีรีย์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ เคยทำรายงานส่งเจ้านายเก่า เรื่องตลาดสิ่งพิมพ์ในกัมพูชา ได้ผลออกมาว่า หลังจากช่วงเขมรแดงที่ปัญญาชนถูกฆ่าไปมากและหนีออกจากประเทศไปมากแล้ว วัฒนธรรมการอ่านของกัมพูชาก็ต้องเพาะปลูกกันใหม่ แต่ปัญหาคือยังปลูกต้นกล้ากันไม่ทันไร วัฒนธรรมโทรทัศน์ก็เข้ามาแล้ว ทำให้คนกัมพูชารุ่นใหม่นิยมดูโทรทัศน์มากกว่า นักเขียนยิ่งลำบากขึ้นกว่าช่วงก่อนเขมรแดง หลายคนก็ขยับขยายไปเขียนเพลง เขียนบทละครทีวี นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการที่ “เวลา” ของคนถูกแย่งไป (แต่จีนที่เกิดกรณีคล้ายๆ กันกลับมีปัญหานี้น้อยกว่ามาก เพราะจีนมีวัฒนธรรมการอ่านที่แข็งแรงมาก) ตอนนี้กลายเป็นวัฒนธรรมอินเตอร์เน็ตแล้ว คิดว่าคงจะยิ่งไกลหนังสือเข้าไปอีก แต่ถึงจะพูดแบบนี้ ก็ไม่มีอะไรแน่นอน อย่างตอนก่อนจะมีแฮรี่ พอตเตอร์ ก็ไม่มีใครคิดว่าจะมีอะไรแบบนี้และมันจะส่งผลต่อตลาดหนังสือแบบนี้ สิ่งที่คาดไม่ถึงมักจะเกิดขึ้นแบบงงๆ เรื่อยๆ บางทีก็เป็นความคาดไม่ถึงที่เราชอบ บางทีก็เป็นอันที่เราไม่ค่อยชอบ (หรือจริงๆ ชอบไม่ชอบก็ไม่แน่ใจ แต่คนเรามักกลัวความเปลี่ยนแปลง แรกๆ เลยพองขนใส่มันไว้ก่อน) ถ้าถามว่า อย่างนี้ทำอาชีพนักเขียน/บรรณาธิการจะยังดีอยู่ไหม เราก็บอกไม่ถูก คือเราไม่มีความสามารถในการมองภาพกว้างๆ ประเภทแนวโน้มทางเศรษฐกิจอะไรแบบนี้ (ผู้สนใจทางนี้ควรดูเพจและอ่านงานของบล็อคเกอร์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้) แต่เราคิดว่า 1. คนที่อยากทำ สุดท้ายก็จะทำ … Continue reading