นึกจะเขียน : บัญญัติ 10 ประการนิยายนักสืบของน็อกซ์
นราเกตต์ / นึกจะเขียน / พิมพ์ดีด / สอนเขียน / สืบสวนสอบสวน

นึกจะเขียน : บัญญัติ 10 ประการนิยายนักสืบของน็อกซ์

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนิยายนักสืบกันนะคะ ภาพจำสำหรับนิยายแนวนี้ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือมีนักสืบมาไขคดีฆาตกรรมต่างๆ ทั้งมาเดี่ยวและมาคู่ พยายามขบคิดแก้ไขปมกันไปทีละเปลาะ ขณะที่คนอ่านเองก็ร่วมเดาคนร้ายตามเบาะแสในตัวอักษรไปด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้นการเขียนนิยายนักสืบ หรือสืบสวนสอบสวนจึงเหมือนกับเป็นการเล่นกับความคิดคนอ่านไปด้วย โรนัลด์ น็อกซ์ Ronald Arbuthnott Knox (1888 – 1957) เป็นนักบวชอังกฤษ เป็นทั้งบรรณาธิการ นักวิจารณ์วรรณกรรม นักเขียนนิยายนักสืบได้วางบัญญัติ 10 ประการของนิยายสืบสวนเอาไว้ดังนี้ 1. ฆาตกร จะต้องมีตัวตนมาตั้งแต่ต้นเรื่อง แต่ไม่ใช่คนที่ผู้อ่านติดตามความคิดของเขาได้ 2. ไขคดีด้วยเหตุและผล ไม่ใช้อภินิหาร 3. ห้ามเขียนถึงห้องลับเกินหนึ่งห้อง หรือทางเดินลับเกินหนึ่งช่องทาง 4. ห้ามใช้สารพิษที่ยังไม่มีการค้นพบ หรือใช้เครื่องมือใดๆ ที่จำเป็นต้องอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างยืดยาวในตอนท้าย 5. อย่าใช้ “ตัวละครคนจีน” (สมัยก่อนนี้นักเขียนนิยายสืบสวนจำนวนมากจะใช้คนจีนหรือคนเชื้อสายจีนเป็นตัวร้าย ทำให้พอมีตัวละครจีนออกมา คนอ่านก็จะทราบว่าเป็นฆาตกรทันที สำหรับข้อนี้จึงพูดได้อีกอย่างว่า ห้ามใช้ตัวละครที่ใช้กันจนเฝือนั่นเอง) 6. อย่าให้นักสืบไขคดีด้วยอุบัติเหตุโชคช่วย หรือด้วยการสังหรณ์เอาแบบไม่มีเหตุผล แล้วดันแม่นคลี่คลายได้ด้วยความบังเอิญ 7. นักสืบต้องไม่เป็นคนร้ายเสียเอง 8. นักสืบต้องไม่ได้เบาะแสซึ่งคนอ่านไม่ได้รู้เห็นด้วยในทันที 9. ถ้ามีผู้ช่วยนักสืบเป็นคนเล่าเรื่อง ผู้อ่านต้องทราบความคิดอ่านของเขาได้โดยตลอด และสติปัญญาความฉลาดเฉลียวของเขาจะต้องน้อยกว่าคนอ่านโดยเฉลี่ยเล็กน้อย … Continue reading