ระหว่างบรรทัด: “ความเยอะ” กับบทบรรยาย
นักเขียน / พรรษพร ชโลธร / ระหว่างบรรทัด / วัสส์ วรา / สอนเขียน / เนื้อหาสาระ

ระหว่างบรรทัด: “ความเยอะ” กับบทบรรยาย

เคยตั้งคำถามไหมคะว่านิยายที่เราเขียนควรจะบรรยายเยอะหรือน้อยแค่ไหน บรรยายเยอะหรือน้อยดีกว่ากัน คำตอบคือ “เยอะในที่ที่ควรเยอะ และน้อยในที่ที่ควรน้อย” พูดแบบนี้อาจจะฟังดูกวนประสาท แต่ความน้อยหรือความเยอะนั้นไม่มีกฎตายตัว แต่ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่าง ในที่นี้เราจะพูดถึงปัจจัย 3 อย่างที่เห็นได้ชัดนะคะ นั่นคือ 1.กลุ่มลูกค้า 2. Pacing 3. จุดเน้น กลุ่มลูกค้า เราต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังเขียนหนังสือให้ใครอ่าน เพราะนิยายแต่ละแบบก็จะมีกลุ่มลูกค้าไม่เหมือนกัน ปัจจัยต่างๆ เช่น ช่วงอายุของคนอ่าน จะเป็นตัวกำหนดว่านิยายควรบรรยายเยอะหรือน้อยอย่างไร ต้องบอกก่อนว่าโดยภาพรวมแล้วนิยายจะบรรยายน้อยลงเรื่อยๆ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะโลกเราทุกวันนี้เร็วขึ้น คนเราเคยชินกับการเสพสื่อที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นงานศิลปะแทบทุกอย่างก็จะเร็วขึ้นตามโลกเหมือนกัน เราจะเห็นว่าละครเดี๋ยวนี้สั้นขึ้น เดินเรื่องเร็วขึ้น เพลงมีจังหวะรวดเร็วขึ้นกว่าเมื่อห้าสิบปีก่อน นิยายเองก็เร็วขึ้นเหมือนกัน ด้วยการบรรยายที่น้อยลงนี่เอง แต่ถึงอย่างนั้นจะสรุปฉัวะไปเลยว่างั้นก็ไม่ต้องบรรยายอะไรมากก็ไม่ถูก เราต้องดูด้วยว่ากลุ่มลูกค้าที่เราเขียนให้อ่านคือใคร เราอาจเคยได้ยินถึงพฤติกรรมที่ต่างกันของคนยุคเบบี้บูมเมอร์ เจ็นเอ็กซ์ เจ็นวาย ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่อง “เด็ก” กับ “ผู้ใหญ่” นะคะ แต่เป็นเพราะคนเหล่านี้เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันและมีความเคยชินต่างกัน ความเคยชินในการอ่านนิยายก็เหมือนกัน คนอ่านที่เป็นรุ่นก่อนๆ จะชินกับบทบรรยายที่เยอะกว่าคนอ่านรุ่นใหม่ๆ ซึ่งโตมากับข้อความสั้นๆ และสื่อมัลติมีเดียมากกว่าสิ่งพิมพ์ยาวๆ บนกระดาษ ดังนั้นถ้าเราเขียนนิยายที่เจาะกลุ่มคนอ่านรุ่นใหญ่หน่อย เราก็อาจต้องบรรยายเยอะกว่าเขียนให้เด็ก ไม่ใช่แค่วัย … Continue reading