บันทึกเรื่อยเปื่อย : Character-based กับ Plot-based (3)
ชีวิตการงาน / นักเขียน / บันทึกเรื่อยเปื่อย / พัณณิดา ภูมิวัฒน์ / พิมพ์ดีด / ลวิตร์ / สอนเขียน / หนังสือ

บันทึกเรื่อยเปื่อย : Character-based กับ Plot-based (3)

  คราวที่แล้วบอกไว้ว่าจะพูดถึงการเขียนทั้งสองแบบเวลาปฏิบัติจริง จุดที่ควรระวัง และจุดที่ควรพัฒนา แต่ก่อนอื่นก็ต้องบอกซ้ำอีกทีว่า ปรกติแล้วไม่มีใครเป็นพล็อตเบสหรือคาแรคเตอร์เบสแบบเพียวๆ หรอกค่ะ ดังนั้นที่จะบอกต่อจากนี้ จึงเป็นเพียงกรณีที่สมมุติว่าคนคนหนึ่งเป็นคาแรคเตอร์เบสหรือพล็อตเบสแบบสุดขั้วเท่านั้น เมื่อคุณอ่านแล้ว ขอให้คิดว่านี่เป็นเพียงข้อเสนอ เป็นไอเดียเอาไว้ไปลองดูด้วยตัวเอง หาส่วนผสมที่เข้ากับตัวเองที่สุด แต่อย่าไปคิดว่ามันจะมีแค่นี้ หรือแค่นี้ก็เป็นที่สุดแล้ว เพราะคนเราไม่มีใครเหมือนกันเลย ดังนั้นแต่ละคนจึงต้องหารูปแบบที่เหมาะสมด้วยตัวเองค่ะ ### คาแรคเตอร์เบส บอกไว้เป็นคีย์เวิร์ดเลยว่า “คาแรคเตอร์เบสต้องดูแล ‘ใจ’ ของตัวเองก่อน” ค่ะ ทำไมจึงว่าให้ดูแลใจตัวเองก่อน เพราะเราเห็นว่า คาแรคเตอร์เบสส่วนใหญ่นั้นเขียนด้วยการสิงตัวละคร ตัวละครรู้สึกอย่างไรก็รู้สึกตามตัวละครด้วย จึงเป็นการเขียนบนฐานของความรู้สึกและอารมณ์ การเขียนด้วยอารมณ์คืออย่างไร คือตัวละครรู้สึกอะไร เราก็รู้สึกด้วย มันโกรธเราโกรธ มันร้องไห้เราร้องไห้ ความอินก็มากน้อยไปตามเรื่อง แต่เรื่องที่อินจริงๆ คนเขียนจะสูญเสียพลังในระดับเดียวกับที่ตัวละครเสียเลยทีเดียว จริงๆ แล้วอารมณ์เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง ถ้าคุณใช้ไปมาก คุณก็เหนื่อยได้เหมือนวิ่งนี่แหละค่ะ เพราะอย่างนั้นบางคนจึงบอกว่า เขียนนิยายแล้วเหนื่อย คนฟังอาจจะงง ทำไมเหนื่อยวะ นั่งจิ้มแป้นอยู่เฉยๆ แต่มันเหนื่อยเพราะใช้พลังใจค่ะ คล้ายๆ กับทำไมเวลาคุณหดหู่คุณถึงเหนื่อย ทำไมคุณทะเลาะกับชาวบ้านคุณถึงเหนื่อยนี่เอง การใช้อารมณ์ในการเขียนนั้น มีจุดดีมากๆ คือทำให้คนอ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ง่าย ถ้าคุณมือถึง คุณจะเป็นนักเขียนผู้สามารถทำให้คนอ่านมีความสุข … Continue reading