บันทึกเรื่อยเปื่อย : Character-based กับ Plot-based (4)
ชีวิตการงาน / นักเขียน / บันทึกเรื่อยเปื่อย / พัณณิดา ภูมิวัฒน์ / พิมพ์ดีด / ลวิตร์ / สอนเขียน / หนังสือ / เนื้อหาสาระ

บันทึกเรื่อยเปื่อย : Character-based กับ Plot-based (4)

พล็อตเบส ที่จริงเราคิดว่านักเขียนพล็อตเบสไม่ค่อยมีปัญหาค่ะ ว่าอย่างไรดี คือเราคิดว่านักเขียนพล็อตเบสนั้นเข้าหาต้นฉบับในฐานะ “งาน” ในขณะที่นักเขียนคาแรคเตอร์เบสอาจจะเข้าหาต้นฉบับแบบคิดว่า “ลูกรักของข้อย” หรือ “สถานที่ระบายอารมณ์และจิตวิญญาณของข้อย” (ซึ่งโดยตัวมันเองไม่ใช่มายด์เซ็ตที่มีปัญหา ตราบใดที่คุณดูแล “ใจ” ของตัวเอง อย่างที่เราบอกในตอนที่แล้ว) เมื่อมองงานอย่างงาน ตราบใดที่คุณทำงานเป็น (เช่น จัดตาราง วางแผน เข้าใจการดีลกับคนอื่นและการประชาสัมพันธ์) คุณก็ไม่ควรมีปัญหาอะไรเลย ถ้าหากจะมีปัญหาบ้าง คือนักเขียนพล็อตเบสที่ค่อนข้างมือใหม่ ตอนที่ยังมือใหม่ นักเขียนพล็อตเบสมักจะเน้นพล็อตเป็นใหญ่ และละเลยอารมณ์ไปเลย เพราะคิดว่าขอแค่ให้พล็อตงดงาม หรือมีแมสเสจบางอย่างที่ดี หรือทวิสต์ได้เป๊ะก็พอแล้ว นอกจากนั้น บางคนก็คิดว่าซีนอารมณ์นั้นสามารถทดแทนด้วย “แพทเทิร์นอารมณ์” ได้ “แพทเทิร์นอารมณ์” คือคุณอ่านเรื่องที่มีอารมณ์อย่างนี้ๆ จนเข้าใจระดับหนึ่งว่าแพทเทิร์นมันเป็นอย่างนี้เอง จากนั้นคุณก็ถอดแพทเทิร์นเดียวกันมาใส่ในเรื่องของคุณ นี่ไม่ใช่การลอกนะคะ อย่าเข้าใจผิด การถอดแพทเทิร์น ก็เช่นการใช้คำว่า “มือบาง-มือหนา” แทนพระเอกนางเอก การเขียนแบบตามขนบประเภทนางเอกต้องถูก “ดูดกลืนความหอมหวาน” (แปลว่าจูบ) หรือแพทเทิร์นอารมณ์อื่นๆ เช่นเจอแบบนี้ต้องโกรธจนหน้าตึง คล้ายๆ กับการเขียนว่าจะเกิด 1 2 3 โดยที่คุณเองไม่อินด้วย แต่คิดว่าต้องมาแบบนี้แหละ … Continue reading