ระหว่างบรรทัด: การแปลกับสิ่งที่คนมักเข้าใจผิด
การแปล / ชีวิตการงาน / นักแปล / พรรษพร ชโลธร / ระหว่างบรรทัด

ระหว่างบรรทัด: การแปลกับสิ่งที่คนมักเข้าใจผิด

เมื่อพูดถึงการแปล คุณคิดว่านักแปลควรมีคุณสมบัติอะไรบ้างคะ ถ้าเอาคำถามนี้ไปถามคนทั่วไป ร้อยทั้งร้อย คุณน่าจะได้คำตอบแรกว่า “เก่งภาษา” ซึ่งภาษาที่ว่าก็คือภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น อะไรก็ว่าไป และถ้าถามต่อว่า “แล้วต้องมีอะไรอีก” คราวนี้คุณอาจจะพบกับสีหน้าว่างเปล่า… นั่นคืออิมเมจการแปลในสายตาชาวบ้าน เก่งภาษาต่างประเทศก็เป็นนักแปลได้ ถามอะไรปุ๊บก็จะตอบได้ปั๊บ จะแปลภาษาไทยเป็นนอกหรือนอกเป็นไทยก็เหมือนกันหมด งานง่ายเหมือนปอกกล้วย จบ! ซึ่ง…แน่นอนว่าสุดแสนจะไม่จริง และนำมาซึ่งความรันทดของนักแปลและความเข้าใจผิดหลายอย่างที่อาจทำให้คุณล้มเหลวเมื่อลองแปลภาษา วันนี้เรามาลองแก้ความเข้าใจผิดพวกนี้กันสองสามอย่าง การแปล ไม่ใช่การถอดรหัสเปลี่ยนภาษาเป็นภาษา Dictionary อาจจะบอกคุณว่า การแปลคือการเปลี่ยนภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง แต่มันเป็นแค่นั้นจริงหรือ… หรือว่าเอาเข้าจริงแล้วคุณอาจจะถูกดิกหลอกให้เข้าใจผิด? อืม เราลองมาดูกันต่อไปดีกว่า เคยเห็นคนฝึกภาษาอังกฤษด้วย “การแปล” มั่งมั้ยคะ มาถึงกางหนังสือ กางบทความภาษาต่างประเทศปุ๊บ จดศัพท์ที่ไม่รู้จัก เปิดดิกอังกฤษ-ไทย จากนั้นเอาความหมายที่เจอมาเรียงกัน เสร็จแล้วค่อยทำความเข้าใจเนื้อหา หรือบางคนหัดเขียนภาษาอังกฤษด้วยการเขียนเนื้อหาภาษาไทยแล้ว “แปล” เป็นภาษาอังกฤษ โดยไปจดศัพท์มาแล้วเอามาเรียงเป็นประโยค ผิดค่ะ! นี่เป็นวิธีที่ผิด ในข้อแรก หลายๆ คนอาจจะพบว่า เอ๊ะ จดศัพท์มาทุกตัวแล้วนะ ทำไมเรียงแล้วงงอยู่ดี ทำไมประโยคออกมาดูมึนๆ … Continue reading