ระหว่างบรรทัด: ว่าด้วยทิปการแปล#1
การแปล / ชีวิตการงาน / นักแปล / พรรษพร ชโลธร / ระหว่างบรรทัด

ระหว่างบรรทัด: ว่าด้วยทิปการแปล#1

ก่อนอื่นขอออกตัวว่าช่วงนี้คนเขียนยุ่งมากกกก เพราะกำลังปั่นงานแปลส่งให้ทันเดดไลน์ จึงไม่มีเวลาเขียนบทความใหม่ (แป่ว) เลยขอเอาบทความเกี่ยวกับการแปลที่เคยเขียนลงแฟนเพจไว้นานแล้วมาลงก่อนนะคะ เพราะคาดว่าหลายคนน่าจะยังไม่เคยอ่าน ทั้งนี้คงต้องขอออกตัว (อีกรอบ) ว่าเรายังเป็นนักแปลค่อนข้างใหม่ในวงการ คือจริงๆ แปลกระเส็นกระสายมาเกินสิบปีค่ะ แต่มาทำจริงจังเป็นอาชีพก็ราวๆ ห้าปีเท่านั้น จริงๆ ตอนเขียนก็ไม่แน่ใจนักว่าควรจะพูดถึงเรื่องนี้ จะดูเป็นการขยายขี้เท่อหรือเปล่า แต่มีคนรีเควสต์มาให้เขียนเรื่องทิปการแปล ประกอบกับบางทีเพื่อนๆ ที่เป็น บก. หรือคนอ่านเจองานแปลบัดซบบ่อยครั้ง ดังนั้นก็เลยลองเขียนดู ทั้งหมดนี้มาจากประสบการณ์บ้าง ที่เรียนมาบ้าง จริงๆ แล้วงานแปลบัดซบมีสาเหตุหลักๆ อยู่ไม่กี่อย่าง นักแปลไม่เก่งภาษาต้นทาง อ่านต้นฉบับแล้วไม่เข้าใจ เลยแปลผิด/มั่ว นักแปลไม่เก่งภาษาปลายทาง อ่านต้นฉบับเข้าใจแต่เขียนออกมาไม่เป็นภาษา เลยอ่านไม่รู้เรื่อง นักแปลวิเคราะห์ต้นฉบับไม่ดี/ไม่สนใจหรือไม่เข้าใจขนบงานเขียนประเภทนั้นๆ เลยเลือกลีลาและระดับภาษาไม่เหมาะสม นักแปลเผางานหรือเมาหมัดจนแปลผิด/แปลไม่รู้เรื่อง ถูกบางข้อข้างต้นหรือถูกทุกข้อ ภาพประกอบ: สิ่งที่อาจเกิดขึ้นจากอาการเมาหมัด คุณอาจทำให้ชาวบ้านอยากกินเห็ดออรินจิได้โดยไม่ตั้งใจ… แต่คราวนี้เราจะพูดถึงข้อแรกกันก่อน นักแปลไม่เก่งภาษาต้นทาง (แต่มีความพยายามและความตั้งใจนะ) ทำยังไง? 1. เมื่อเห็นศัพท์ที่รู้จัก อย่าเพิ่งคิดว่าเรารู้แล้ว คนแปลจำนวนมากตายน้ำตื้นตรงนี้ โดยเฉพาะนักแปลหน้าใหม่ที่ภาษาไม่แข็งแรงนักแต่ประเมินระดับความรู้ทางภาษาของตัวเองผิด เพราะเจอศัพท์ที่คิดว่าตัวเองรู้แล้วแปลไป แต่ในที่นั้นคำนั้นๆ ไม่ได้มีความหมายนั้น คำส่วนมากมีความหมายหลายอย่าง และถึงจะมีความหมายอย่างเดียว ก็ควรระลึกไว้เสมอว่าแต่ละคำหรือแต่ละวลีในแต่ละภาษาครอบคลุมความหมายไม่เท่ากัน และมีนัยแฝงไม่เหมือนกัน … Continue reading