[บันทึก 70 แกรม] รู้จักสำนวน รู้จักเอกลักษณ์ #2
นักเขียน / บันทึก 70 แกรม / สอนเขียน / หนังสือ / เนื้อหาสาระ / เมเปิ้ลสีขาว / Uncategorized

[บันทึก 70 แกรม] รู้จักสำนวน รู้จักเอกลักษณ์ #2

สิ่งที่จะบอกเราว่าเอกลักษณ์ของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร คือ ความรู้สึกของเราถึงสิ่งต่าง ๆ … เป็นความรู้สึกของเราถึงคน ๆ หนึ่ง สิ่ง ๆ หนึ่ง ต่อวัฒนธรรมหนึ่ง ที่เรารู้สึกว่ามันโดดเด่นออกมาจนเราสังเกตเห็น จดจำ และสามารถพูดถึงได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีที่มาได้ เอกลักษณ์ในงานเขียนก็เช่นกัน เป็นความรู้สึกของคนที่อ่านงานของเราโดยส่วนใหญ่ และเห็นตรงกันว่ามันโดดเด่นจนจดจำได้ เหมือนชาวต่างชาติรู้สึกว่ารสชาติของอาหารไทยคือเผ็ดหรือจัดจ้านเป็นอย่างแรก หากเปรียบนักเขียนเป็นช่างเจียรไนอัญมณี  ผลงานเขียนก็เป็นเหมือนอัญมณีที่นักเขียนเพียงแค่ขุดเจออย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ ยังคงต้องผ่านการออกแบบในสไตล์ของเรา การเจียรไน เพื่อที่จะได้อัญมณีที่สวยงาม เปล่งประกายโดดเด่น จนคนต้องเหลียวมอง แน่นอนว่าการที่เราจะกลายเป็นช่างที่มีฝีมือ ก็ต้องฝึกฝนขัดเกลาด้วยการเขียนเยอะ ๆ อ่านเยอะ ๆ จนกระทั่งได้ภาษาที่คม ประโยคที่เด็ด และจังหวะเรื่องที่กระชากใจคนอ่าน เอกลักษณ์ในงานเขียนมักจะสะท้อนออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งวิธีการเขียน การเล่าเรื่อง การใช้คำ อารมณ์เรื่องที่สื่อออกมา โดยปกติแล้วเอกลักษณ์ในงานเขียนที่เรามักจะเรียกง่าย ๆ ว่า “สไตล์” การเขียนนั้น มักจะเกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนและขัดเกลางานเขียนอย่างสม่ำเสมอ นั่นหมายความว่าเอกลักษณ์ เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันกับการฝึกฝนทักษะในการเขียนนั่นแหละ เพียงแต่คนที่หัดเขียนส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังไม่รู้ตัวกันว่ามันเกิดขึ้นแล้ว เพราะเอาแต่คิดว่าการที่เราเขียนทุกวันแบบนั้น จะช่วยให้เรามีทักษะงานเขียนที่มากขึ้น สำนวนดีขึ้น มีผลงานที่พัฒนาขึ้น แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้หลงลืมไปว่ามีเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่เราต้องจับมาพัฒนาด้วย ทำไมถึงบอกว่าเอกลักษณ์ในงานเขียน … Continue reading