ล่าม / เนื้อหาสาระ / BabelBabe

เรื่องเล่าของล่ามสาว: รู้จักกับงานล่าม (2)

 

 ภาพ: ตู้ล่ามและอุปกรณ์ภายใน

หลังรู้จักกับวิชาชีพแบบคร่าวๆ ไปแล้ว คราวนี้จะมาแจกแจงประเภทของงานล่ามกันบ้าง อันที่จริงก็มีวิธีแบ่งอยู่หลายแบบ แต่เราจะขอแบ่งแบบง่ายๆ ตามสถานที่การทำงานนะคะ

1. ล่ามงานประชุม (conference interpreting): ลักษณะงานก็ตรงตามตัวเลยค่ะ เป็นการแปลงานในที่ประชุม ซึ่งก็จะมีความหลากหลายลงไปอีก ในที่นี้ ขอยึดประเภทแยกย่อยตามแผนกงานล่ามของสหภาพยุโรปนะคะ  http://ec.europa.eu/dgs/scic/index_en.htm

  • ล่ามพูดพร้อม (simultaneous interpretation): นี่คืองานล่ามแบบที่ฟังปุ๊บพูดปั๊บ ไม่มีเวลาให้หยุดหายใจหายคอกัน เป็นงานที่อาศัยสมาธิสูงยิ่ง ในการทำงานนั้นจะต้องมีล่ามสองคนสลับกันคนละ 15-30 นาที ถ้าต้องทำนานขนาดนั้น สมาธิจะเริ่มตกและหลุดลอยไป…

          ส่วนเรื่องของอุปกรณ์นั้น ถ้าเป็นห้องประชุมใหญ่ๆ ระดับมาตรฐานนานาชาติจะมีห้องล่ามพร้อมแผงอุปกรณ์               ติดอยู่กับห้องประชุมเลยค่ะ เท่าที่เห็นมาในเมืองไทย หอประชุมที่มีห้องถาวรคือ หอประชุมใหญ่                               สหประชาชาติที่สะพานมัฆวาน แล้วก็ที่หอประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ถ้าเป็นประชุมในโรงแรม ก็จะมีตู้ล่าม                   ชั่วคราวซึ่งเป็นกล่องสี่เหลี่ยมบุอุปกรณ์กันเสียง ด้านหน้ามีกระจกใสเปิดให้มองเห็นภายนอก พร้อมด้วยชุด               เครื่องเสียงและช่างเสียงคอยดูแล

และบางครั้ง จะมีการแปลข้ามภาษาหรือ relay interpretation ร่วมด้วย ซึ่งเป็นการล่ามที่ล่ามไม่ได้ฟัง               จากภาษาของผู้พูดโดยตรง แต่ฟังจากการแปลของล่ามอีกทอดหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในกรณีที่ในการประชุมนั้นมีผู้             เข้าประชุมที่ใช้หลายภาษา และก็มักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง ยกตัวอย่างเช่น ในการประชุมระหว่าง           ไทย พม่า กัมพูชา พอตัวแทนจากกัมพูชาพูดเป็นภาษากัมพูชาปุ๊บ ล่ามกัมพูชาก็จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ                 ก่อน ให้ล่ามพม่าและไทยถ่ายทอดเป็นภาษาของตนอีกทีหนึ่ง ซับซ้อนกันไปทีเดียวค่ะ

  • ล่ามกระซิบ (whispering interpreting): ถือเป็นงานล่ามพูดพร้อมแบบหนึ่ง แต่ไม่มีอุปกรณ์เสริม ล่ามจะนั่งข้างผู้เข้าประชุมและกระซิบเบาๆ ที่ข้างหู (ฟังดูโรแมนติกไหม 555) งานล่ามกระซิบมักจะใช้ในการประชุมที่มีผู้ใช้ภาษาอื่นแค่คนเดียว หรืออาจจะเป็นการประชุมตัวต่อตัว จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีเครื่องกระจายเสียง งานล่ามกระซิบนี้ จะทำคนเดียว ไม่มีคู่ล่ามมาผลัด แถมยังต้องควบคุมระดับเสียงให้พอเหมาะ จึงขอบอกว่าเหนื่อยมากค่ะ -*-
  • ล่ามพูดตาม (consecutive interpreting): ในการประชุมบางครั้งผู้จัดอาจเลือกใช้ล่ามพูดตามแทนที่จะเช่าตู้ล่ามและอุปกรณ์ครบชุด โดยให้ผู้บรรยายพูดจนจบและล่ามพูดตามสรุปความตาม ซึ่งจะเหมาะแค่กับการประชุมที่มีช่วงแปลเพียงสั้นๆ เช่นการทำเวิร์คช็อปซึ่งต้องบรรยายแค่ช่วงต้น เพราะถ้าต้องพูดสลับแปลไปตลอด จะใช้เวลานานมากเชียวค่ะ

2. ล่ามติดตาม (escort interpreting): ล่ามติดตามก็ทำงานตามชื่อเลยค่ะ มีหน้าที่ติดตามลูกค้าไปตามที่ต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการตรวจเยี่ยมสถานที่ บางทีก็มีการเจรจาธุรกิจเข้ามาร่วมด้วย และบางครั้งก็ต้องทำงานกึ่งเลขาฯ กึ่งประสานงานไปด้วยในตัว สถานที่ทำงานก็จะหลากหลายมากแล้วแต่ลักษณะของงานในวันนั้นๆ 

สรุปสั้นๆ ก็ได้ประมาณนี้ค่ะ ถ้าใครมีข้อสงสัยตรงไหน ก็ถามกันมาได้เลยนะคะ 😀

 

 

Leave a comment